การสรรหาและบริหารจัดการบุคลากรด้านดิจิตอล ความท้าทายใหม่สำหรับองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 1)
PDMCoach • December 7, 2017
เนื่องจากการกระแสดิจิตอลส่งผลให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยการนำช่องทางดิจิตอลต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้ขณะนี้ หลายองค์กรต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิตอลเพื่อมาปฏิบัติงานอย่างมาก
แต่เนื่องจากประเทศไทย มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงและประสบการณ์เฉพาะด้านนี้น้อยมาก และคนที่มีความรู้ความสามารถจริง ๆ หลายท่านก็ผันตัวเองไปเป็นเจ้าของธุรกิจหรือที่ปรึกษาแล้ว จึงทำให้ขณะนี้ หลายองค์กรไม่สามารถหาบุคลากรเพื่อมาปฏิบัติงานด้านนี้ได้
ในมุมมองของผู้เขียนจากการที่มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหาร Recruitment Agency, HR และเพื่อน ๆหลายท่าน ประกอบกับการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ประกาศรับสมัครงานหลายเว็บไซต์ ทำให้ผู้เขียนได้พบปัญหาหลายอย่างสำหรับการคัดเลือกและบริหารจัดการบุคลากรด้านดิจิตอล ซึ่งนับเป็นอุปสรรคและความท้าทายอย่างมากสำหรับองค์กรธุรกิจขณะนี้ โดยขอนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การคัดเลือกบุคลากรที่เน้นความยาวของประสบการณ์การทำงานเพียงอย่างเดียว
โดยที่ไม่มีการทดสอบวัดระดับความรู้ด้านดิจิตอล หรือไม่ได้เน้นการคัดเลือกบุคลากรที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ขอยกตัวอย่างจริงจากการที่ได้พูดคุยกับผู้บริหารที่รู้จักท่านหนึ่ง ซึ่งองค์กรกำลังเริ่มตั้งทีมดิจิตอลใหม่ และได้จ้าง Team Head ด้านดิจิตอลมาท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์สูงและเลิศมากในด้านการตลาด โดยการใช้ Head Hunt และการสัมภาษณ์กับผู้บริหารระดับสูงตามปรกติ พอท่านมาทำงานจริง ก็ส่งผลกระทบกับทีมงานที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ทั้งในแง่ของการวางกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงาน การบริหารจัดการเครื่องมือ Digital Marketing การเลือกใช้ digital agency รวมถึงการจัดตั้งทีมงานดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าท่านแทบจะไม่มีความรู้ด้านดิจิตอลเลย จึงทำให้ส่งผลกระทบกับหลายทีมงานที่ทำงานร่วมกัน และที่สำคัญที่สุดคือ องค์กรไม่สามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจจากช่องทางดิจิตอลได้ และกลับเป็น lost อีกด้วย
2. การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครงานในด้านดิจิตอลแบบครอบจักรวาลเกินไป
จากการได้ดูเว็บไซต์สมัครงานหลายเว็บ พบว่าแทบทุกองค์กรกำหนดคุณสมบัติมาแบบยอดมนุษย์ดิจิตอลมาก เช่น Digital Marketing Executive 1 คน ต้องดูทั้ง Website, SEO, PPC
, Social Media, Email Marketing, Web Analytics
และ Content ทั้งส่วนของ wording และ VDO Content
บางองค์กร 1 คนนั้นยังต้องดู Graphic Design, CRM และ Application อีก ถ้าเทียบกับต่างประเทศ เราต้องใช้คนมาทำงานเหล่านี้เป็น 10 คน เพราะในต่างประเทศแถบอเมริกาและยุโรป ส่วนใหญ่จะให้ 1 คนดูเฉพาะด้านไปเลย หรือดูแค่ 2-3 ด้านในหนึ่งคน แต่ในไทยพนักงาน 1 คนต้องดูแลและทำงานเกือบ 10 ด้าน และบางองค์กรยังให้พนักงานระดับเจ้าหน้าที่เป็นคนกำหนดกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานด้วย โอกาสที่จะหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถแบบ perfect ขนาดนั้นก็ยากมาก ถ้าองค์กรใดหาได้ถือว่าท่านได้สมบัติที่มีค่ามาก
3. ฐานเงินเดือนไม่ได้แตกต่างจากงานในสาขาการตลาดแบบปรกติมากนัก
จากการที่ผู้เขียนได้ตรวจดูเว็บไซต์รับสมัครงานหลายเว็บ ตำแหน่งงานจากข้อ 2 ที่ Digital Marketing Executive หรือ Officer 1 คน ดูเกือบ 10 areas รวมกับข้อ 1 ที่ต้องการประสบการณ์ 1 – 3 ปี (บางองค์กรต้องการประสบการณ์นานกว่านั้น) หลายองค์กรให้เงินเดือนเพียง 13-15K บาท ไปจนถึงบางองค์กรซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติที่ต้องการคนใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมากจะให้ 40-45K บาท มันแทบไม่ได้แตกต่างอะไรจากสายงาน Marketing หรือ Communications ธรรมดาเลย ถ้าเทียบกับต่างประเทศในแถบอเมริกาและยุโรป ถ้ามีคุณสมบัติประมาณนี้และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถจริง ๆ จะมีรายได้ประมาณ 50-100K ยูโรหรือ USD ต่อปี (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 2-4 ล้านบาท) และไม่ต้องทำงานแบบครอบจักรวาลอีกด้วย