5 ความลับของ Google Analytics ที่ต้องรู้
Google Analytics เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากการทำการตลาดออนไลน์ รวมทั้งข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ของเว็บไซต์ของธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ฟรี ๆ และสามารถให้ข้อมูลหลายประเภทที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการทำการตลาดออนไลน์ Digital Marketing ได้
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลหลายส่วนที่ได้จาก Google Analytics อาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์แบบเสมอไป โดยข้อมูลในบางรายงานอาจมีความแม่นยำเกือบ 100% แต่บางรายงานอาจจะมีความแม่นยำเพียง 30-60% กว่า ๆ เท่านั้น ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอบางแง่มุมของ Google Analytics มากฝากกัน
1. ค่า Bounce Rate ใน Google Analytics
ค่า Bounce Rate (อัตราการตีกลับ) ที่เห็นในรายงานต่าง ๆ ของ Google Analytics เกิดจากการที่ผู้ชมที่เข้ามาที่เว็บไซต์ที่หน้าแรก (Landing Page) แล้วออกจากเว็บหรือเลิกดูเว็บไซต์ไป โดยไม่ได้คลิกไปดูหน้าอื่น ๆ บนเว็บไซต์เดียวกัน หรือในกรณีที่เว็บไซต์มีการติดตั้ง Event Tracking Code ระบบ Google Analytics จะรับว่า Session นั้นเป็น Bounce Rate ถ้าไม่มี Event เกิดขึ้น กล่าวคือ ถ้ามีผู้ชมเข้ามาที่หน้าแรกของเว็บไซต์แล้วออกจากเว็บไซต์ไปเลยโดยที่ไม่มี Event เกิดขึ้น ก็จะนับเป็น Bounce Rate
2. การจับเวลาของ Session (Session Duration) ใน Google Analytics
ในกรณีที่เว็บไซต์ไม่ได้ติดตั้ง Event Tracking Code เพื่อติดตามพฤติกรรมในการดูเว็บไซต์ Google Analytics จะจับเวลาในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ Session ได้ต่อเมื่อผู้ชมคลิกดูหน้าเว็บอื่น ๆ ต่อจากหน้าแรก (Landing Page) หรือเรียกโหลดหน้าเว็บเดิมใหม่ หากผู้ชมดูหน้าเว็บต่อไปเรื่อย ๆ หรือเรียกโหลดหน้าเว็บเดิมซ้ำ ๆ Google Analytics ก็จะยังคงจับเวลาต่อไป ไปจนถึงหน้าสุดท้ายที่ผู้ชมหยุดดู และหน้าสุดท้ายที่ถูกรับชมของแต่ละ Session จะไม่สามารถจับเวลาในการดูหน้าเว็บนั้นได้ แต่หากเว็บไซต์มีการติด Event Tracking Code การจับเวลาของ Session จะจับเวลาที่แต่ละ Event เกิดขึ้นได้
3. การจับเวลาในการดูหน้าเว็บ (Time on Page) ใน Google Analytics
Google Analytics จะจับเวลาในการดูหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าได้ได้ต่อเมื่อผู้ชมคลิกดูหน้าเว็บอื่น ๆ ต่อจากหน้าแรก (Landing Page) หรือเรียกโหลดหน้าเว็บเดิมใหม่ และหน้าสุดท้ายที่ถูกรับชมของแต่ละ Session จะไม่สามารถจับเวลาในการดูหน้าเว็บนั้นได้ (คล้ายกับการจับเวลาของ Session) แต่การจับเวลาในการดูหน้าเว็บจะไม่จับเวลาของ Event ที่เกิดขึ้นเลยแม้ว่าเว็บไซต์จะติด Event Tracking Code
4. การนับผู้ชม (User) ใน Google Analytics
โดยปรกติแล้ว Google Analytics จะนับผู้ชม (User) โดยการจับอุปกรณ์ (Device) และเว็บเบราเซอร์เป็นหลัก ไม่ได้นับตัวคนที่เข้ามาเว็บไซต์ Google Analytics จะจับได้ว่าผู้ชมเป็นคนเดิม (Returning User) เมื่อผู้ชมนั้นใช้อุปกรณ์เดิมและเว็บเบราเซอร์เดิม หากใช้อุปกรณ์ (Device) เดิมแต่เปลี่ยนเว็บเบราเซอร์ก็จะนับเป็นผู้ชม (User) อีกคนหนึ่ง
5. ข้อมูล Demographic และ Interest ใน Google Analytics
อีกหนึ่งประโยชน์ของ Google Analytics คือความสามารถในการจับข้อมูลพื้นฐานบางอย่างของผู้ชมได้ เช่น เพศ อายุ (Demographic) ความสนใจ (Interest) ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งสองส่วนนี้ไม่ได้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบ 100% นักการตลาดอาจจะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิงได้ในลักษณะของกลุ่มตัวอย่างได้ แต่ไม่ควรจะนำไปสรุปเป็นผลอ้างอิงแบบ 100%
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นำมาฝากกัน ผู้อ่านสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ผลและการใช้ Google Analytics เพื่อการทำการตลาดออนไลน์ Digital Marketing ให้ได้ผลได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือ คอร์สอบรม Google Analytics โดยเฉพาะ