5 กลยุทธ์ SEO เตรียมรับมือการค้นหาด้วยเสียง (Voice Search)
PDMCoach • February 22, 2018
จากผลการสำรวจข้อมูลในต่างประเทศที่เป็นผู้นำทางด้าน Digital Marketing ได้ระบุว่าผู้ใช้อินเตอร์เนตเพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ มีการใช้ Search Engine ในรูปแบบเสียง Voice Search ถึง 60% จากการค้นหาทั้งหมด
แม้ในประเทศไทยอาจจะยังไม่ค่อยนิยมมากนัก แต่ในอนาคตคาดว่าการค้นหาในรูปแบบเสียงจะเริ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ผู้เขียนจึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับการปรับกลยุทธ์ SEO ซึ่งได้แปลมาจากต่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกท่าน
มาทำความเข้าใจ Voice Search กันก่อน
โดยส่วนใหญ่ การใช้ Voice Search จะเป็นลักษณะการพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติ และผู้ใช้จะใช้โทรศัพท์มือถือในการค้นหาด้วยเสียง เพื่อหาข้อมูลหรือสถานที่ในพื้นที่ที่ต้องการ คำที่ใช้ค้นหาด้วยเสียงจึงมีแนวโน้มที่จะมีความยาวมากกว่าการพิมพ์ ซึ่งเราสามารถปรับกลยุทธ์ SEO ให้สอดคล้องกับ Voice Search ได้ ดังนี้
1. ทำ content ให้สามารถอ่านได้ง่าย
เนื่องจากการใช้ Voice Search จะเกิดขึ้นในโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมือถือมีหน้าจอเล็ก ดังนั้น content จึงต้องมีความชัดเจน สามารถอ่านง่าย โหลดเร็ว และไม่มี pop up หรือโฆษณาแทรกขึ้นมา รวมทั้งต้องใช้ภาษาง่าย ๆ สั้น ๆ และแบ่งแยกประเด็นออกเป็น point อย่างชัดเจน
2. ยืนยันตัวเองในระบบ Google My Business
เพื่อให้ Google มีข้อมูลของธุรกิจของคุณมากขึ้น เช่น ประเภทธุรกิจ เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ เวลาเปิด-ปิด ฯลฯ และพยายามอัพเดทข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการแสดงผลการค้นหามากขึ้น
3. เน้นการใช้ keyword ยาว (Long-tailed keywords)
เนื่องจากการค้นหาด้วยเสียงส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบการพูดคุยหรือสอบถาม เราจึงต้องสร้าง keywords พยายามนึกว่าผู้คนจะตั้งคำถามอะไร ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมในการสอบถามข้อมูลของผู้บริโภคเป้าหมายของคุณจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
4. สร้าง content เกี่ยวกับคำถามที่มักพบบ่อย (FAQ)
โดย content ในหน้านี้จะต้องเน้นการใช้ keyword ที่เป็นคำถามที่กลุ่มเป้าหมายของคุณใช้ในการค้นหาหรือสอบถามข้อมูล และสร้าง content ให้เป็นการถาม-ตอบข้อมูลอย่างธรรมชาติมากที่สุด
5. การใช้ Micro Data
เพื่อให้ Google เข้าใจว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เราจึงต้องทำให้ Google สามารถทำความเข้าใจเว็บไซต์ของเราให้ง่ายและเร็วที่สุด โดยการนำ sitemap เว็บไซต์ของเราไปไปฝากในระบบ Google Search Console และ content ใน sitemap นั้นต้องมีรายละเอียดของธุรกิจ เช่น ราคาสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งของร้านหรือบริษัทบน Google Map เวลาทำการ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ นอกจากนั้น เราสามารถใช้ Microdata เพื่อช่วยให้ Google สามารถทำความเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยการสร้าง Micro Data ที่ถูกต้อง สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
>> รับชมประวัติผู้เขียนที่นี่
>> รับชมประวัติผู้เขียนที่นี่